Freediving – Soul - If freediving is in your Soul.
  • Home
  • SHOP
    • Freediving_Fins
  • Freediving Course
    • SSI Basic Freediving
    • SSI Pool Freediving
    • SSI Freediving Level 1
    • SSI freediving level 2
  • วิธีสมัครเรียน
  • Blog(ความรู้)
  • About me
Home
SHOP
    Freediving_Fins
Freediving Course
    SSI Basic Freediving
    SSI Pool Freediving
    SSI Freediving Level 1
    SSI freediving level 2
วิธีสมัครเรียน
Blog(ความรู้)
About me
  • Home
  • SHOP
    • Freediving_Fins
  • Freediving Course
    • SSI Basic Freediving
    • SSI Pool Freediving
    • SSI Freediving Level 1
    • SSI freediving level 2
  • วิธีสมัครเรียน
  • Blog(ความรู้)
  • About me
Freediving – Soul - If freediving is in your Soul.
freediving

Lung stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด

     หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบ freediving นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี

     ยิ่งร่างกายมีความยืดหยุ่นดีมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เคลื่อนไหวใต้น้ำได้ง่ายป้องกันการเกิดตะคริว ความยืดหยุ่นในกล้ามเนื้อเเต่ละส่วนก็มีประโยชน์

ในการฟรีไดฟ์ต่างกัน เช่น การยืดกล้ามเนื้อช่วงหัวไหล่จะทำให้ ร่างกายลู่น้้ำ ช่วยให้ใช้เเรงเตะขาน้อยลง  ความยืดหยุ่นในกล้ามเนื้อช่วงปอด จะทำให้ ร่างกายผ่อนคลายต่อเเรงดันน้ำได้มากขึ้น เคลียร์หูได้ง่ายเมื่อดำลงไปลึกๆ

Lung stretching คืออะไร

Continue reading

freediving

Spleen effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

spleen effect freediving

ม้าม ( Spleen effect )เป็น อวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหาย ออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต

เมื่อเม็ดเลือดแดง เข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต เม็ดเลือดที่ดีจะไหลผ่านม้ามออกไปได้ ส่วนเม็ดเลือดที่คุณภาพไม่ดีจะถูกย่อยสลายโดยเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในม้าม จะได้แร่ธาตุเหล็กออกมา เพื่อส่งไปผลิตเม็ดเลือดใหม่ ที่ไขกระดูก

หน้าที่ สำคัญอีกอย่างของม้ามคือ เป็นที่เก็บเลือดสำรอง เนื่องจากม้ามสามารถ ขยายและหดตัวได้ ในเวลาที่ร่างกายต้องการเลือดมากขึ้น เช่น ประสบอุบัติเหตุสูญเสียเลือด  ม้ามจะหดตัว เพื่อปล่อยเม็ดเลือดเข้ามาในระบบหมุนเวียนโลหิตเพิ่มมากขึ้น

Continue reading
freediving

9 ขั้นตอน Free diving ฝึก Frenzel equalization

วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freediving เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้

Free diving physiology ส่วนต่างๆ

Free diving

  • ส่วนที่เชื่อมปอดและลำคอคือ Trachea สามารถเปิด-ปิดโดย epiglottis
  • ส่วนที่เชื่อมไปยังกระเพาะอาหารคือ Esophagus โดยปกติจะปิด
  • การหายใจเข้า-ออก จะผ่านเพดานอ่อน (soft palate) เข้าสู่ปอด ถ้าเพดานอ่อนอยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง ลมจะสามารถถ่ายเทจากปากเข้าจมูกได้
  • ถ้าเพดานอ่อนยกขึ้น ลมจะผ่านเข้าปากได้ แต่ลมจะถูกกั้น ไม่สามารถเข้าไปในโพรงจมูกได้
  • ถ้าเพดานอ่อนลดลง ลมจะผ่านเข้าจมูกได้แต่ผ่านเข้าไปในช่องปากไม่ได้
  • ท่อยูสเตเชียนอยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก การเคลียร์หูคือการดันลมให้เข้าไปในท่อนี้

จากรูปเป็นวิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เราจะใช้มือปิดจมูก ใช้ลิ้นดันลมในช่องปาก ในขณะเดียวกันก็ปิดหลอดลมไว้ ลมจะถูกดันผ่านเพดานอ่อนที่เปิดอยู่เข้าไปในท่อยูสเตเชียน และเข้าไปในหูชั้นกลาง

Continue reading

freediving

2 วิธีฝึก freediving กลั้นหายใจ ได้นานและสบายกว่าเดิม

หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึก freediving ใหม่ๆคือ อาการ Contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ กลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ Contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น

ฝึก Freediving อย่างไรให้ Contraction มาช้าลง

ในการ เรียน freediving ระดับเริ่มต้น เราจะถูกสอน ให้ฝึกร่างกายให้ทนต่อระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้ กลั้นหายใจ ได้นานขึ้นโดยไม่ทำ hyperventilation ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย

แต่ความคิดที่ว่ายิ่งฝึกให้ทนต่อ คาร์บอนไดออกไซด์นานขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทำให้สามารถกลั้นหายใจได้นานขึ้นไปเรื่อยๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นการฝึกฝืนจิตใจให้ทนได้มากกว่าเดิม ทนทรมานได้มากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเป็นความคิดที่ผิดถนัด

แน่นอนว่าการฝึกตาราง CO2 เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้คุ้นเคยกับอาการ Contraction แต่มันมีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี

Continue reading

freediving

5 สาเหตุทำไมคนถึงสนใจ เรียนfreediving

เรียน freediving กทม

หลายคนสนใจว่าทำไม ใครๆถึงมา เรียนfreediving ในเมื่อการดำ scuba สามามารถอยู่ใต้น้ำได้นานกว่ามาก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจ freedive นอกเหนือจากความสะดวกในการดำน้ำแล้วคือ ความท้าทายทั้งทางร่างกายและ จิตใจ

นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ดูคลิปวิดีโอ ก็รู้สึกประทับใจในความอิสระใต้ท้องทะเลโดยปราศจากอุปกรณ์มากมาย สามารถว่ายน้ำ ดำขึ้นลง และสัมผัสธรรมชาติใต้ทะเลได้อย่างสะดวกตามที่ใจต้องการ

ในขณะที่ Scuba จะได้ประสบการณ์ความสนุกใต้ท้องทะเลผ่านอุปกรณ์ แต่ ฟรีไดฟ์ จะได้ประสบการณ์นั้นผ่านทางด้านจิตใจ ที่ใช้ควบคุมร่างกายให้สามารถผ่อนคลายและกลั้นหายใจได้นานเมื่อดำน้ำ คุณจะได้รู้ว่าคุณสามารถทำมันได้

ประโยชน์ของฟรีไดฟ์ที่ช่วยทางด้าน ร่างกายคือ การฝึกลมหายใจที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ปอดได้รับออกซิเจนมากขึ้น และทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายได้ง่ายมากขึ้น ทำให้มีสมาธิ

ประโยชน์ 5 ข้อของการ เรียนfreediving

  1. Freedive คือ กีฬาอย่างหนึ่ง

เป็นกีฬาทางน้ำเหมือนกับการว่ายน้ำ การเล่นฟุตบอลและกีฬาชนิดอื่นๆ ยิ่งคุณ ฝึกกลั้นหายใจ มากขึ้นเท่าไหร่ปอดของคุณยิ่งแข็งแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น

ในกรณีของ Freediving จะเน้นไปในการฝึกควบคุมลมหายใจทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะทำให้ปอดมีออกซิเจนมากขึ้นและทำให้สามารถกลั้นหายใจได้นานมากขึ้น

ฟรีไดฟ์ คล้ายๆกับ Scuba ต่างกันตรงที่ไม่มีอุปกรณ์ในการช่วยหายใจ ใช้เพียงปอดในการเก็บอากาศเวลาอยู่ใต้น้ำ

เป็นกีฬาที่มีความท้าทายทั้งทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ ซึ่งต้องการ การเรียนรู้ และการฝึกฝน ขึ้นอยู่กับว่าเป้าหมายของแต่ละคนในการเล่นกีฬาชนิดนี้คืออะไร

ถ้าหากเป้าหมายคือการลงแข่งเพื่อสร้างสถิติ การฝึกซ้อมก็ต้องมีวินัยและมากกว่าคนทั่วไป หรือถ้าหากเป้าหมายคือการไปเที่ยวทะเล ดำน้ำเล่นเพื่อการพักผ่อน การไปลงคอร์ส เรียน freediving เท่านั้นก็เพียงพอ

การ เรียน freedive และฝึกซ้อมเป็นประจำสม่ำเสมอ รวมถึงต้องตระหนักถึงขีดจำกัดของร่างกายของแต่ละคน ไม่แต่เพียงเท่านั้นยังต้องใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อไปเที่ยวทะเล และปฏิบัติตามกฎของความปลอดภัยในกีฬาชนิดนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุอันตรายของเราและเพื่อนได้

Continue reading

freediving

คำถามที่มักถามบ่อยๆ เกี่ยวกับ freediving

freediving wirh friend

ปัจจุบันมีคนสนใจกีฬาเกี่ยวกับ ฟรีไดฟ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นกีฬาที่สนุก และท้าทายความสามารถ ทำให้คนท่องเที่ยวทะเล และดำน้ำลงไปชมธรรมชาติใต้ท้องทะเลได้อย่างใกล้ชิด และง่ายดาย หลายคนจึงอยากรู้จักกีฬาชนิดนี้มากขึ้น เกี่ยวกับ freediving 

คำถาม เกี่ยวกับ freediving อะไรบ้างที่น่าสนใจ?

.

ว่ายน้ำไม่เป็นเรียน freedive ได้หรือไม่?

ถ้าว่ายน้ำเป็นก็ดีครับ  เหมือนคนขี่มอเตอร์ไซค์เป็นอยู่เเล้ว อยากไปเรียนขับรถยนต์เพิ่ม

เวลาฝึกขับรถออกถนนใหญ่ รู้กฎจราจรดีอยู่เเล้ว ไม่ตกใจกลัวเวลาเจอรถบนถนน

เเต่ทักษะที่ใช้ในการขับรถก็คนละเเบบ

ทักษะ ดำน้ำ กับว่ายน้ำ เเตกต่างกัน ว่ายน้ำเก่งไม่ได้เเปลว่าจะดำน้ำ freedive ได้เก่ง เเต่คนที่ว่ายน้ำเป็นจะคุ้นเคยกับการลงน้ำมากกว่าทำให้ไม่กลัว

สนใจเรียน Freediving ใครเคยเรียนรบกวนแชร์ประสบการณ์

ตอนนี้ในไทยก็มีสอน ฟรีไดฟ์หลายๆที่ ทั้งในกรุงเทพฯ กับตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะเต่า เกาะช้าง การไป เรียนตามเกาะมีข้อดีคือ อยู่ใกล้ทะเล เรียนทฤษฎีเสร็จก็ออกทะเลได้เลย ไปทะเลทุกวัน แต่ข้อเสียก็มี คืออยู่ไกลบ้าน ถ้าเกิดสอบไม่ผ่านต้องกลับมาสอบที่เกาะอีก ส่วนเรียนในกรุงเทพฯก็มีข้อดี คืออยู่ใกล้ ไปซ้อม ฟรีไดฟ์ กับครูหรือเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันได้บ่อยๆ แต่จะเว้นช่วงก่อนไปสอบจริงที่ทะเล บางคนก็ลืมที่เคยเรียนไปแล้ว และไม่ค่อยได้ออกไปทะเลบ่อยๆ สมัยก่อนจะมีแต่ครูฝรั่งทำให้บางทีมีอุปสรรคทางภาษา แต่เดี๋ยวนี้ก็มีครูคนไทยสอนฟรีไดฟ์กันมากขึ้น

Continue reading

freediving

อุปกรณ์ freediving วิธีเลือกและการใช้งาน

อุปกรณ์ freediving

การว่ายน้ำในทะเลลึกอาจจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับคนจำนวนมาก เพราะนอกจากบางครั้งที่ต้องเจอกับคลื่นที่รุนแรง หากเจอกับกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวก็สร้างความตระหนกได้ไม่แพ้กัน สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่แข็ง การเรียนรู้ที่จะใช้ อุปกรณ์ freediving จะช่วยให้คุณดำน้ำได้สนุกและมีความปลอดภัยมากขึ้นอย่างแน่นอน

ทำไมเราต้องใช้ อุปกรณ์ freediving ต่างๆ?

ครั้งแรกของการเที่ยวในทะเล หลายๆคนจะต้องใส่เสื้อชูชีพแน่นอน การใส่เสื้อชูชีพจะช่วยให้เราปลอดภัยเมื่ออยู่ในทะเล แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้เรารูสึกอึดอัดและไม่เป็นอิสระเพราะต้องลอยอยู่บนพื้นผิวของทะเลไม่สามารถดำลงไปใต้น้ำได้

Continue reading

freediving

เคลียร์หู แล้วมีปัญหาอยากรู้วิธีมาทางนี้

freediving

เมื่อเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศ เรามักเกิดอาการหูอื้อทำให้ต้องกลืนน้ำลาย บางทีก็หาวเพื่อให้หูกลับมาได้ยินตามปกติ แต่คนจำนวนมากเจอปัญหาเวลา freedive แล้ว เคลียร์หู ไม่ได้ทำให้เจ็บหูขณะดำน้ำ บางคนก็ฝืนดำลงไปต่อทั้งๆที่เจ็บถ้าโชคร้ายแก้วหูก็ทะลุ ดังนั้นเรามาเรียนรู้เทคนิคในการเคลียร์หูกันดีกว่า

มารู้จักวิธี equalization ของ Freediver กันดีกว่า

.

กลไกการทำงานของการ เคลียร์หู

สาเหตุที่ทำให้เจ็บหูเวลาดำน้ำ เนื่องมาจากเยื่อแก้วหูถูกแรงดันน้ำดันเข้ามา ดังนั้นร่างกายจึงมีกลไกปรับแรงดันโดยส่งอากาศผ่านเข้าไปในหูชั้นกลางเพื่อปรับแรงดันทำให้เยื่อแก้วหูไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งปกติเราส่งอากาศผ่านท่อยูสเตเชียนเพื่อปรับแรงดันเป็นปกติทุกวันอยู่แล้ว โดยการกลืนน้ำหรืออาหาร เมื่อเรากลืน soft pallet จะถูกยกขึ้นกล้ามเนื้อบริเวณจมูกและลำคอจะดึงให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออกและทำให้อากาศสามารถผ่านเข้าไปข้างในหูชั้นกลางได้

Continue reading

freediving

Mammalian dive reflex สำหรับดำน้ำแบบ Freedive

Mammalian dive reflex

เมื่อ 69 ปีที่แล้วก่อนที่จะมีใครรู้จัก Mammalian dive reflex มีชายคนหนึ่งชื่อว่า Raimondo Bucher กลั้นหายใจ Freediving ลงไป 30 เมตร และว่ายกลับขึ้นมาผิวน้ำอย่างปลอดภัย ไม่มีอาการบาดเจ็บ นอกจากไม่บาดเจ็บแล้ว เขายังชนะพนันได้เงิน เนื่องจากมีนักวิทยาศาสตร์บอกเขาว่า ไม่มีทางที่มนุษย์จะกลั้นหายใจดำน้ำลงไปถึง 30 เมตรได้ เพราะแรงดันน้ำจะสูงมากจนทำให้ปอดฉีกและจมน้ำตาย แต่ Bucher ไม่ตาย เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ร่างกายมนุษย์มีกลไกบางอย่างที่ทำให้ กลั้นหายใจได้นานขึ้นและดำน้ำได้ลึกอย่างปลอดภัย

Mammalian dive reflex (MDR)

ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาความสามารถในการดำน้ำของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และค้นพบว่าร่างกายมีปฏิกิริยาบางอย่างที่ช่วยให้สามารถดำน้ำได้นานและได้เรียกปฏิกิริยานี้ว่า MDR มีหลักๆด้วยกัน 4 อย่างคือ

Continue reading

freediving

วิธีฝึกกลั้นหายใจ ทำยังไง?ได้นานกว่า 3 นาที

freediving koh surin

ถ้าชอบดำน้ำแบบ Freedive การกลั้นหายใจเป็นทักษะพื้นฐาน เพราะมันช่วยให้เรามั่นใจเมื่ออยู่ในทะเลและสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น เริ่มแรกคุณอาจคิดว่าการกลั้นหายใจเกิน 3 นาทีเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าคุณได้เรียนรู้ วิธีฝึกกลั้นหายใจ และใช้เวลาในการฝึกฝนคุณจะแปลกใจกับศักยภาพของร่างกายและจิตใจของตัวคุณเอง  วิธีฝึกกลั้นหายใจ วิธีฝึกกลั้นหายใจ  

ข้อควรระวังก่อนฝึก Freedive

Continue reading

Page 1 of 212»

เรียน Freediving

  • SHOP
  • วิธีสมัครเรียน
  • SSI Basic Freediving
  • SSI Pool Freediving
  • SSI Freediving Level 1
  • SSI freediving level 2

กด Like เพื่อติดตามสาระใหม่ๆได้ที่นี่

Recent Posts

  • Lung stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด
  • เคล็ดลับเเละเทคนิคในการฝึก freediving 3 ประเภท
  • Wetsuit freediving เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร
  • Spleen effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน
  • 9 ขั้นตอน Free diving ฝึก Frenzel equalization

“Freediving isn't just a number. It's about your journey.”

Relax your mind , Enjoy and chill out