เมื่อ 69 ปีที่แล้วก่อนที่จะมีใครรู้จัก Mammalian dive reflex มีชายคนหนึ่งชื่อว่า Raimondo Bucher กลั้นหายใจ Freediving ลงไป 30 เมตร และว่ายกลับขึ้นมาผิวน้ำอย่างปลอดภัย ไม่มีอาการบาดเจ็บ นอกจากไม่บาดเจ็บแล้ว เขายังชนะพนันได้เงิน เนื่องจากมีนักวิทยาศาสตร์บอกเขาว่า ไม่มีทางที่มนุษย์จะกลั้นหายใจดำน้ำลงไปถึง 30 เมตรได้ เพราะแรงดันน้ำจะสูงมากจนทำให้ปอดฉีกและจมน้ำตาย แต่ Bucher ไม่ตาย เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ร่างกายมนุษย์มีกลไกบางอย่างที่ทำให้ กลั้นหายใจได้นานขึ้นและดำน้ำได้ลึกอย่างปลอดภัย
ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาความสามารถในการดำน้ำของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และค้นพบว่าร่างกายมีปฏิกิริยาบางอย่างที่ช่วยให้สามารถดำน้ำได้นานและได้เรียกปฏิกิริยานี้ว่า MDR มีหลักๆด้วยกัน 4 อย่างคือ
เมื่อใบหน้าสัมผัสน้ำ เซลล์ประสาทรอบๆจมูกจะส่งสัญญาณไปที่สมอง สั่งให้หัวใจเต้นช้าลงเพื่อทำให้ร่างกายประหยัดการใช้ออกซิเจน และสามารถกลั้นหายใจได้นานเมื่ออยู่ใต้น้ำ Bradycardia จะส่งผลก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของน้ำต่ำ
เพื่อรักษาชีวิต อวัยวะที่มีความสำคัญน้อย เช่น มือ แขน ขา เส้นเลือดจะหดตัว ออกซิเจนจะถูกส่งไปเลี้ยง สมอง ปอดและอวัยวะสำคัญอย่างเพียงพอ ทำให้เรารู้สึกชาตามมือและเท้าเมื่อ freediving นานๆ
เมื่อปอดหดตัวเนื่องจากการดำน้ำลึก เลือดจะถูกส่งเข้ามาในปอดมากขึ้นเพื่อทำให้ปอดสามารถทนแรงดันน้ำได้
เมื่อดำน้ำ จะส่งผลให้ม้ามเกิดการหดตัวและปล่อยเม็ดเลือดแดงออกมา ทำให้ร่างกายมีออกซิเจนใช้มากขี้น เราจึงสามารถดำน้ำได้นานขึ้น
ร่างกายขับน้ำปัสสาวะออกมามาก อาจทำให้ร่างกายเกิดสภาวะขาดน้ำได้(Dehydration) ควรพักดื่มน้ำหากต้องดำน้ำนานๆ
เนื่องจากแขนและขาขาดออกซิเจน จึงเกิดการสะสมกรดแลคติกทำให้เกิดความรู้สึกเมื่อยล้าหรือไม่สามารถขยับได้
หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบ freediving นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี …
freediving เป็นกีฬาที่ เรียน เเละฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละ กลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มี หัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง…
ทำไมเราใช้ wetsuit freediving ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป้นไข้ และเป็น…
ม้าม ( Spleen effect )เป็น อวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหาย ออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เมื่อเม็ดเลือดแดง เข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต…
วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freediving เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Free diving physiology ส่วนต่างๆ…
หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึก freediving ใหม่ๆคือ อาการ Contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ กลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ Contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น…