Freediving คือ วิธีดำน้ำอย่างหนึ่งซึ่งใช้เทคนิคการกลั้นหายใจดำลงไปใต้น้ำ โดยไม่ใช้ถังออกซิเจนหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอย่างอื่น Freediving มีจุดกำเนิดมาจาก คนที่ใช้ชีวิตอยู่ใกล้ทะเล ใช้เพื่อดำน้ำลงไปหาอาหารจนกระทั่งพัฒนามาเป็นกีฬาดำน้ำ Freediving คือ อะไร
ในปัจจุบัน Freediving กำลังเพิ่มความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนสนใจเพราะ เป็นกีฬาที่ท้าทาย ช่วยให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติใต้ทะเลยิ่งขึ้น พัฒนาสมาธิในอีกระดับ และทำให้เที่ยวทะเลได้สนุกมากขึ้น
การดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ คล้ายๆกับ Snorkeling เราสวม Mask และ Snorkel เหมือนกับการ Snorkeling แต่จะไม่สวมชูชีพ และมักสวม Fins (ตีนกบ) เพื่อช่วยให้ว่ายน้ำได้ง่ายขึ้น
Freediving คือ อะไร
ที่ไม่ใส่ชูชีพเพราะว่าเราต้องการลงไปใต้น้ำที่ระดับความลึกมากกว่า 5 เมตร โดยกลั้นหายใจดำลงไป สัมผัสโลกใต้น้ำ ตลอดจนสามารถถ่ายรูปต่างๆได้ด้วยกล้องใต้น้ำ ขณะดำลงไปใต้น้ำ แรงกดอากาศจะเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกหูอื้อปวดหู ดังนั้นการเคลียร์หู (ปิดปากปิดจมูกออกแรงเป่าลม) จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ ทำให้ดำได้ลึกขึ้นได้
และหากหายใจได้ถูกต้อง เมื่อเรา ใส่ Mask และคาบ Snorkel คว่ำหน้าลงน้ำแล้ว ตัวจะลอยปริ่มน้ำ ปลายท่อจะพ้นน้ำอยู่แล้ว ดังนั้นแม้คนที่ว่ายน้ำไม่เป็น หรือไม่แข็ง หากเรียนรู้ ฝึกฝนอย่างถูกต้อง ก็สามารถดำ ฟรีไดฟ์ได้
การฝึกฟรีไดฟ์ควรฝึกร่วมกับครูผู้สอนหรือ ผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อนและไม่ควรดำน้ำคนเดียว เนื่องจากฟรีไดฟ์เป็นกีฬาที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือหมดสติในน้ำได้
คนที่พึ่งเริ่มสนใจกีฬา ชนิดนี้มักจะได้ยิน ได้เห็นคำย่อต่างๆ ที่ใช้กันในกลุ่ม Freediving ผมเลยรวมศัพท์ที่ใช้กันบ่อยๆไว้ในบทความนี้
STA – Static Apnea เป็นวิธีที่ใช้ในการฝึกและแข่งขัน ซึ่งการฝึกแบบ STA จะเป็นการฝึก กลั้นลมหายใจให้นานที่สุด ดังนั้นคนที่กลั้นหายใจแบบ Static จะลอยตัวนิ่งๆ โดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนให้น้อยที่สุด
DYN – Dynamic หรือ เป็นการดำน้ำแบบใช้ Fins โดยจะต้องกลั้นหายใจและว่ายใต้น้ำโดยใช้เทคนิคตี fins แบบต่างๆและทำตัวให้ต้านน้ำน้อยที่สุด เพื่อว่ายให้ได้ระยะทาง ไกลมากที่สุด
DNF – Dynamic no fins หลักการทั่วไปจะเหมือนกับ DYN จุดที่แตกต่างกันคือ การดำน้ำแบบ DNF จะเป็นการดำน้ำแบบไม่ใช้ Fins
FIM – Free immersion แข่งขันโดยการกลั้นหายใจและมือสาวเชือกเอาหัวปักพื้นลงทะเลแนวดิ่ง ดำลงไปให้ได้ลึกที่สุด การฝึก FIM ยังใช้เป็นการฝึกเบื้องต้นในการทำ Head down equalization อีกด้วยเพราะเราสามารถควบคุมความเร็วในการดึงเชือกได้
CWT – Constant weight with fins ดำน้ำแบบ CWT จะเป็นการดำน้ำโดยใช้ fins และใช้ตะกั่วถ่วงน้ำหนัก ดำลงไปในแนวดิ่งให้ลึกที่สุดและกลับขึ้นมาบนผิวน้ำโดยปลอดภัย
CNF – Constant weight no fins เป็นการดำน้ำลงไปให้ลึกที่สุดแบบเดียวกับ CWT แต่ไม่ใช้ fins
VWT – Variable Weight ใช้น้ำหนักถ่วงดำลงไปใต้น้ำให้ลึกที่สุด แล้วทิ้งน้ำหนักไว้ข้างล่าง เวลาขึ้นมาผิวน้ำดึงเชือก หรือว่ายขึ้นมาเอง
NLT – No-Limits เกาะ sled ดำลงไปใต้น้ำ เวลาขึ้นใช้บอลลูนขึ้นสู่ผิวน้ำ
Hypoxia – สภาพออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำผิดปกติ มือ เท้าหรือปากอาจซีดจนกลายเป็นสีเขียวเนื่องจากเลือดมีออกซิเจนน้อยเกินไป
Hypoxia fit – หรือ LMC (Loss motor control) ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้เนื่องจากออกซิเจนในเลือดต่ำผิดปกติ หรือบางคนเรียกว่า Samba เนื่องจากร่างกายสั่นไม่หยุด
Hypercapnia – ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าค่าปกติ
Hypocapnia – ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำกว่าค่าปกติ
Blackout (BO) – อาการหมดสติเนื่องจากร่างกายมีออกซิเจนน้อยเกินไป
Shallow water blackout (SWB) – หมดสติในขณะขึ้นสู่ผิวน้ำในระยะสิบเมตรก่อนถึงผิวน้ำ โดยมากเกิดขึ้นหลังจากดำลงไปลึกๆ ทำให้ปอดหดตัวเนื่องจากแรงดันน้ำ ขณะขึ้นสู่ผิวน้ำปอดขยายตัวและดึงออกซิเจนออกจากกระแสเลือดทำให้ร่างกายมีออกซิเจนไม่พอและหมดสติในที่สุด
TLC – Total Lung Capacity ความจุสูงสุดของปอดหลังจากหายใจเข้าไปเต็มที่
VC – Vital Capacity ปริมาณของอากาศที่เราสามารถหายใจเข้าหรือหายใจออก
RV – Residual Volume ปริมาณของอากาศที่เหลืออยู่ในปอดหลังจากเราหายใจออกไปเต็มที่
TV – Tidal Volume ปริมาณของอากาศที่เราหายใจเข้าหรือออกแบบปกติสบายๆ
IRV – Inspiratory Reserve Volume ปริมาณของอากาศที่เราสามารถหายใจเข้าไปได้อีกหลังจากหายใจเข้าแบบปกติ
ERV – Expiratory Reserve Volume ปริมาณของอากาศที่เราสามารถหายใจออกไปได้อีกหลังจากหายใจออกแบบปกติ
FRC – Functional Residual Capacity ปริมาณอากาศที่เหลืออยู่ในปอดหลังจากหายใจออกแบบปกติ
Packing – วิธีอัดอากาศเพิ่มลงไปในปอดหลังจากหายใจเข้า
Over-packing – การอัดอากาศเข้าไปในปอดมากเกินไปจนทำให้เกิดอาการ Blackout
Reversed packing – เป็นวิธีดึงอากาศออกจากปอด หลังจากหายใจออกมาจนสุดแล้ว
Buddy – คู่หูหรือเพื่อนไปดำน้ำ คอยดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อความปลอดภัยและ buddy ที่มีประสบการณ์ยังสามารถช่วยแนะนำเทคนิคในการดำน้ำได้ด้วย
PB (Personal Best) – สถิติที่เราทำได้ดีที่สุดในแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นสถิติ STA, DYN, FIM, CWT ฯลฯ
Freefall – เมื่อดำลงไปลึกจนถึงระดับหนึ่งปอดจะหดตัวลง ทำให้จมลงไปข้างล่างเรื่อยๆโดยไม่ต้องว่ายน้ำ
Equalization – วิธีปรับแรงดันในหู หรือ หน้ากาก เพื่อป้องกันความเจ็บปวดขณะดำลงไปใต้น้ำ
Squeeze – อาการเจ็บปวดจากแรงดันใต้น้ำ เกิดขึ้นบริเวณ หู, โพรงไซนัส, mask และปอด
Oxygen assisted static – ใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ เพื่อทำให้ดำน้ำได้นานขึ้น
หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบ freediving นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี …
freediving เป็นกีฬาที่ เรียน เเละฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละ กลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มี หัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง…
ทำไมเราใช้ wetsuit freediving ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป้นไข้ และเป็น…
ม้าม ( Spleen effect )เป็น อวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหาย ออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เมื่อเม็ดเลือดแดง เข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต…
วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freediving เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Free diving physiology ส่วนต่างๆ…
หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึก freediving ใหม่ๆคือ อาการ Contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ กลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ Contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น…