เมื่อเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศ เรามักเกิดอาการหูอื้อทำให้ต้องกลืนน้ำลาย บางทีก็หาวเพื่อให้หูกลับมาได้ยินตามปกติ แต่คนจำนวนมากเจอปัญหาเวลา freedive แล้ว เคลียร์หู ไม่ได้ทำให้เจ็บหูขณะดำน้ำ บางคนก็ฝืนดำลงไปต่อทั้งๆที่เจ็บถ้าโชคร้ายแก้วหูก็ทะลุ ดังนั้นเรามาเรียนรู้เทคนิคในการเคลียร์หูกันดีกว่า
.
สาเหตุที่ทำให้เจ็บหูเวลาดำน้ำ เนื่องมาจากเยื่อแก้วหูถูกแรงดันน้ำดันเข้ามา ดังนั้นร่างกายจึงมีกลไกปรับแรงดันโดยส่งอากาศผ่านเข้าไปในหูชั้นกลางเพื่อปรับแรงดันทำให้เยื่อแก้วหูไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งปกติเราส่งอากาศผ่านท่อยูสเตเชียนเพื่อปรับแรงดันเป็นปกติทุกวันอยู่แล้ว โดยการกลืนน้ำหรืออาหาร เมื่อเรากลืน soft pallet จะถูกยกขึ้นกล้ามเนื้อบริเวณจมูกและลำคอจะดึงให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออกและทำให้อากาศสามารถผ่านเข้าไปข้างในหูชั้นกลางได้
หลักการของการเคลียร์หูคือการเปิดท่อยูสเตเชียนเพื่อให้อากาศผ่านเข้าไปในหูชั้นกลางได้ ซึ่งมีหลักๆ 6 วิธี
เป็นวิธีแรกๆ ที่นักดำน้ำจะได้เรียนเพราะเข้าใจง่าย วิธีนี้เพียงแค่บีบจมูกและเป่าลมผ่านจมูก แรงดันอากาศในลำคอจะเพิ่มสูงขึ้นและดันให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออก วิธีนี้ง่ายแต่วิธีนี้มีปัญหาคือ
วิธีที่ปลอดภัยกว่า คือการกลืนน้ำลายเพื่อทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออก และอีกวิธีคือการใช้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอและจมูกเพื่อเปิดท่อยูสเตเชียน
เมื่อเรากลืนน้ำลายท่อยูสเตเชียนจะถูกเปิดออกและอากาศสามารถผ่านเข้าไปได้ สามารถใช้ฝึกเคลียร์หูเพื่อสังเกตการทำงานของกล้ามเนื้อขณะกลืนน้ำลายดูว่ามีการทำงานอย่างไร แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับใช้ในขณะ Freedive เพราะจะไปกระตุ้นอาการ urge to breath ได้
วิธีนี้เป็นวิธีที่รวม Valsalva และ Toynbee เข้าด้วยกัน โดยการปิดจมูกเป่าลม ในขณะเดียวกันก็พยายามกลืนน้ำลาย(แต่ยังไม่ได้กลืนน้ำลายจริงๆ) ถ้าหากลองวิธี Valsalva แล้วไม่ได้ผล เวลาหัดฟรีไดฟ์ช่วงแรกๆให้ลองวิธีนี้ดู
เริ่มจากปิดจมูก ขยับกรามล่างไปด้านหน้าทำเหมือนกับจะหาว แล้วเป่าลมออกทางจมูก เวลาเราหาวกล้ามเนื้อบริเวณกรามจะทำงานช่วยให้เราเคลียร์หูได้ง่ายขึ้น
วิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้สนใจฟรีไดฟ์ควรฝึกมากที่สุด เพราะปลอดภัยและผ่อนคลายมากกว่าวิธีข้างบน สามารถกลั้นหายใจดำน้ำลงไปได้ลึกกว่า แต่ต้องใช้เวลาฝึกฝน โดยเริ่มจาก
1.บีบจมูก แล้วปิดหลอดลม (epiglottis)
2.ใช้ลิ้นแตะเพดานปากเพื่อกั้นไม่ให้ลมออกจากปาก (ทดลองเป่าลมออกทางปาก ถ้าลมไม่ออกแสดงว่าทำถูกต้อง)
3.ผ่อนคลาย soft pallet เพื่อเปิดทางให้ลมผ่านเข้าไปในจมูกได้
4.ใช้โคนลิ้นดันอากาศเข้าไปในจมูก
ถ้าได้ผล จะได้ยินเสียงในหูแสดงว่าเคลียร์หูได้ ควรฝึกบ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ
วิธีนี้ให้เริ่มต้นจากการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณ soft pallet และลำคอขณะเดียวกันให้ดันกรามล่างไปด้านหน้าและดึงลง (ทำในลักษณะเดียวกับเวลาจะเริ่มหาว) การเกร็งกล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออก วิธีนี้จะใช้เวลาในการฝึกฝนกล้ามเนื้อบริเวณ soft pallet กับ กรามล่างเป็นเวลานาน และมีเพียงบางคนที่ทำได้ บางคนเรียกวิธีนี้ว่า hand free equalize
หลายคนมีปัญหากับการเคลียร์หู เคลียร์ไม่ออก เคลียร์ยาก วิธีด้านล่างเป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถเคลียร์หูได้ง่ายขึ้น
1.ก่อนดำน้ำ ทดลองเคลียร์หู แล้วฟังเสียงดู เพื่อทดสอบดูว่าหูคุณเคลียร์ได้ตามปกติหรือไม่ เวลาเคลียร์แล้วมีอาการอย่างไร ถ้าหากทำบนบกได้แสดงว่าหูคุณปกติสามารถดำน้ำได้
2.ซ้อมเคลียร์หูเป็นประจำ เมื่อคุณทำได้จนเชี่ยวชาญแล้วเวลาอยู่ในน้ำจะสามารถทำได้ทันทีและช่วยให้ผ่อนคลายได้ง่ายยิ่งขึ้น
3.เคลียร์ที่ผิวน้ำก่อนจะดำลงไป ถ้าดำลงไปในน้ำแล้วหู้จะถูกแรงดันน้ำบีบเข้ามาทันที ทำให้เคลียร์หูได้ยาก ดังนั้นควรเคลียร์หูที่ผิวน้ำเตรียมไว้ก่อน 1 ครั้ง
4.เมื่อดำลงไปแล้วเคลียร์บ่อยๆ อย่ารอจนเจ็บแล้วค่อยเคลียร์เพราะนั่นหมายถึงสายไปแล้วทำให้เคลียร์หูยาก
5.ถ้าหากเคลียร์ไม่ได้ หรือรู้สึกเจ็บอย่าฝืน ให้ขึ้นผิวน้ำ เพราะจะทำให้บาดเจ็บและเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหูได้ และไม่ควรฝืนดำน้ำขณะเป็นหวัด
6.ไม่ควรสูบบุหรีหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ก่อน freediving เพราะจะทำให้เยื่อบุในโพรงจมูกผลิตเมือกออกมามาก จนส่งผลต่อการ Equalize ได้
7.เคลียร์น้ำในหน้ากากออกก่อนดำน้ำ เพราะเวลา freedive เราเอาหัวลงน้ำก่อน ถ้าหากมีน้ำในหน้ากากจะทำให้น้ำไหลเข้าจมูกทำให้เกิดความระคายเคือง
หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบ freediving นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี …
freediving เป็นกีฬาที่ เรียน เเละฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละ กลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มี หัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง…
ทำไมเราใช้ wetsuit freediving ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป้นไข้ และเป็น…
ม้าม ( Spleen effect )เป็น อวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหาย ออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เมื่อเม็ดเลือดแดง เข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต…
วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freediving เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Free diving physiology ส่วนต่างๆ…
หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึก freediving ใหม่ๆคือ อาการ Contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ กลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ Contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น…