ปัจจุบันมีคนสนใจกีฬาเกี่ยวกับ ฟรีไดฟ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นกีฬาที่สนุก และท้าทายความสามารถ ทำให้คนท่องเที่ยวทะเล และดำน้ำลงไปชมธรรมชาติใต้ท้องทะเลได้อย่างใกล้ชิด และง่ายดาย หลายคนจึงอยากรู้จักกีฬาชนิดนี้มากขึ้น เกี่ยวกับ freediving
.
ถ้าว่ายน้ำเป็นก็ดีครับ เหมือนคนขี่มอเตอร์ไซค์เป็นอยู่เเล้ว อยากไปเรียนขับรถยนต์เพิ่ม
เวลาฝึกขับรถออกถนนใหญ่ รู้กฎจราจรดีอยู่เเล้ว ไม่ตกใจกลัวเวลาเจอรถบนถนน
เเต่ทักษะที่ใช้ในการขับรถก็คนละเเบบ
ทักษะ ดำน้ำ กับว่ายน้ำ เเตกต่างกัน ว่ายน้ำเก่งไม่ได้เเปลว่าจะดำน้ำ freedive ได้เก่ง เเต่คนที่ว่ายน้ำเป็นจะคุ้นเคยกับการลงน้ำมากกว่าทำให้ไม่กลัว
ตอนนี้ในไทยก็มีสอน ฟรีไดฟ์หลายๆที่ ทั้งในกรุงเทพฯ กับตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะเต่า เกาะช้าง การไป เรียนตามเกาะมีข้อดีคือ อยู่ใกล้ทะเล เรียนทฤษฎีเสร็จก็ออกทะเลได้เลย ไปทะเลทุกวัน แต่ข้อเสียก็มี คืออยู่ไกลบ้าน ถ้าเกิดสอบไม่ผ่านต้องกลับมาสอบที่เกาะอีก ส่วนเรียนในกรุงเทพฯก็มีข้อดี คืออยู่ใกล้ ไปซ้อม ฟรีไดฟ์ กับครูหรือเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันได้บ่อยๆ แต่จะเว้นช่วงก่อนไปสอบจริงที่ทะเล บางคนก็ลืมที่เคยเรียนไปแล้ว และไม่ค่อยได้ออกไปทะเลบ่อยๆ สมัยก่อนจะมีแต่ครูฝรั่งทำให้บางทีมีอุปสรรคทางภาษา แต่เดี๋ยวนี้ก็มีครูคนไทยสอนฟรีไดฟ์กันมากขึ้น
การเคลียร์หูหลักๆของ Freedive มี 2 วิธี คือแบบ Valsava maneuver เหมือนกับ scuba คือปิดจมูกแล้วเป่าให้ลมออกหู กับอีกวิธีคือ Frenzel maneuver วิธีนี้เป็นวิธีที่แนะนำให้ฝึกสำหรับ freedive วิธีการคือ ใช้โคนลิ้นอัดอากาศเข้าไปในหูชั้นกลาง แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝนถึงจะชำนาญ อุปสรรคสำคัญเวลาเคลียร์หูของคนฝึกฟรีไดฟ์คือ ท่อยูสเตเชียนปิดเลยเคลียร์หูไม่ได้ แต่ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องก็จะสามารถทำได้ในที่สุด
โดยรวมๆ ฟรีไดฟ์จะต่างกับ Scuba ตรงที่ Scuba เป็นการเรียนดำน้ำโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ ถ้าสามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง โอกาสที่จะสอบตกมีน้อยกว่า แต่อุปกรณ์หลักของ ฟรีไดฟ์ คือร่างกายของผู้เรียนเอง คนส่วนมากจะเจอปัญหาเคลียร์หูไม่ได้ เพราะเวลาสอบ ฟรีไดฟ์ต้องเอาหัวลงพื้นแล้วเคลียร์หู ซึ่งจะยากกว่าดำแบบ Scuba ก่อนไปเรียนควรไปลองฝึกร่วมกับคนที่เคยเรียนมาแล้ว จะช่วยให้ไม่ตื่นเต้นเวลาสอบ เกี่ยวกับ freediving
ฝึก snorkeling เริ่มต้นจากหา อุปกรณ์ฝึก 3 อย่างคือ mask snorkel fins เอาแบบไม่ต้องแพงมาก ลองฝึกลอยตัวหายใจผ่านท่อ snorkel กลั้นหายใจแล้วมุดน้ำดู พอโผล่พ้นน้ำก็เคลียร์ท่อ snorkel ส่วนฝึก freedive ต้องหาครูหรือเพื่อนที่เคยเรียนมาแล้วให้คอยดูเวลาเราซ้อมกลั้นหายใจหรือดำน้ำลงไปลึกๆ เพราะดำฟรีไดฟ์มีความเสี่ยงพอสมควรนอกจากต้องมีคนคอยช่วยแล้ว คนที่ช่วยต้องเรียนรู้ฝึกฝนวิธีที่ถูกต้องมาพอสมควร
เริ่มต้นจากเรียนรู้วิธีการหายใจที่ถูกต้อง และธรรมชาติของร่างกายในขณะที่กลั้นหายใจ หลังจากนั้นก็ให้ฝึกซ้อมเพื่อจะได้เกิดความเคยชินของจิตใจ พอฝึกบ่อยๆก็จะเริ่มกลั้นหายใจได้นานมากขึ้นเรื่อยๆ
ปกติร่างกายจะลอยน้ำทำให้ดำน้ำลงไปลึกๆได้ยาก เทคนิคที่ทำให้ดำลงไปลึกๆได้ง่าย คือฝึก duckdive เป็นการทำให้ตัวตั้งฉากกับพื้นโลกแล้วเอาหัวมุดน้ำลงไปจะทำให้แรงดึงดูดของโลกดึงลงไปใต้น้ำได้ง่าย และไวมากขึ้น
สถิติคนที่กลั้นหายใจได้นานที่สุดตอนนี้คือ Aleix Segura Vendrell กลั้นหายใจได้ 24 นาที 3.45 วินาที แต่เวลาหายใจโดยใช้ออกซิเจน 100 %
กีฬาฟรีไดฟ์วิ่ง แบ่งสถิติการดำน้ำ(ชาย , หญิง) เป็นประเภทต่างๆ ได้แก่
STA (Static apnea) | Stéphane MIFSUD – 11:35 min, Natalia MOLCHANOVA – 9:02 min
DYN (Dynamic with fins) | Mateusz MALINA – 300 m, Giorgos PANAGIOTAKIS – 300 m , Magdalena SOLICH-TALANDA – 243 m
DNF (Dynamic without fins) | Mateusz MALINA – 244 m, Magdalena SOLICH-TALANDA – 191 m
CWT (Constant weight) | Alexey MOLCHANOV – 130 m, Alessia ZECCHINI – 107 m
CNF (Constant weight no fins) | William TRUBRIDGE – 102 m , Alessia ZECCHINI – 73 m
FIM (Free immersion) | Alexey MOLCHANOV – 125 m, Sayuri KINOSHITA – 93 m
VWT(Variable weight) | Stavros KASTRINAKIS – 146 m, Nanja VAN DEN BROEK – 130 m
NLT(No limit) | Herbert NITSCH – 214 m, Tanya STREETER – 160 m
กีฬาทุกประเภท หากเรียนรู้และฝึกฝน มาแบบผิดๆย่อมก่ออันตรายได้ทั้งสิ้น โดยปกติ freediving มักฝึกกันในทะเล อันตรายมีหลายแบบ ทั้งจากสภาวะแวดล้อมและความประมาท ดังนั้น กฏพื้นฐานของฟรีไดฟ์ คือ never dive alone ห้ามดำน้ำคนเดียวต้องมีเพื่อนที่ผ่านการฝึกฟรีไดฟ์มาแล้วคอยดู คอยช่วยเหลือในยามฉุกเฉินตลอด
ถ้าหากพึ่งเริ่มสนใจ ให้ลองหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตดูก่อน หาข้อมูลต่างๆ เช่น ดูวิดีโอ หรืออ่านบทความ เพื่อจะได้มีความรู้พื้นฐาน หลังจากนั้นลองหาที่เรียน เพราะการเรียนจะทำให้เราได้ความรู้ครบถ้วนมากกว่า ได้ฝึกฝนทักษะอย่างถูกต้องและวิธีช่วยเพื่อนที่ดำน้ำกับเราให้ปลอดภัยจากคนที่ชำนาญแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเรียนที่เดินทางไปฝึกซ้อมได้สะดวก เพราะหลังจากเรียนแล้ว การฝึกซ้อมเป็นประจำเป็นสิ่งจำเป็น เดี๋ยวนี้ ฟรีไดฟ์ เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ วันเสาร์ อาทิตย์มีกลุ่มฝึกซ้อมที่สระว่ายน้ำธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อเราเรียนจบมีความรู้แล้วก็สามารถไปเข้าร่วมกลุ่มฝึกซ้อมกับคนที่เรียนมาระดับเดียวกันได้
หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบ freediving นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี …
freediving เป็นกีฬาที่ เรียน เเละฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละ กลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มี หัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง…
ทำไมเราใช้ wetsuit freediving ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป้นไข้ และเป็น…
ม้าม ( Spleen effect )เป็น อวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหาย ออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เมื่อเม็ดเลือดแดง เข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต…
วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freediving เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Free diving physiology ส่วนต่างๆ…
หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึก freediving ใหม่ๆคือ อาการ Contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ กลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ Contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น…