freediving

อุปกรณ์ freediving วิธีเลือกและการใช้งาน

การว่ายน้ำในทะเลลึกอาจจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับคนจำนวนมาก เพราะนอกจากบางครั้งที่ต้องเจอกับคลื่นที่รุนแรง หากเจอกับกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวก็สร้างความตระหนกได้ไม่แพ้กัน สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่แข็ง การเรียนรู้ที่จะใช้ อุปกรณ์ freediving จะช่วยให้คุณดำน้ำได้สนุกและมีความปลอดภัยมากขึ้นอย่างแน่นอน

ทำไมเราต้องใช้ อุปกรณ์ freediving ต่างๆ?

ครั้งแรกของการเที่ยวในทะเล หลายๆคนจะต้องใส่เสื้อชูชีพแน่นอน การใส่เสื้อชูชีพจะช่วยให้เราปลอดภัยเมื่ออยู่ในทะเล แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้เรารูสึกอึดอัดและไม่เป็นอิสระเพราะต้องลอยอยู่บนพื้นผิวของทะเลไม่สามารถดำลงไปใต้น้ำได้

อุปกรณ์ 3 อย่าง ได้แก่ Mask , snorkel และ fins ถ้าคุณใช้เป็นจะช่วยให้คุณอยู่ในทะเลได้อย่างมั่นใน และในขณะเดียวกันก็เป็นประตูไปสู่การทำในสิ่งที่คุณอาจจะไม่เชื่อว่าคุณทำได้มาก่อน

Freediving Mask

หน้าที่ของ Mark คือช่วยให้คุณสามารถมองเห็นใต้น้ำได้ ป้องกันอาการแสบเนื่องจากน้ำทะเลเข้าตาเข้าจมูก แต่ Mark ที่ใช้ในการ freediving จะมีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือ ใช้อากาศน้อยมากในการเคลียร์หน้ากาก เพราะเวลาเราฟรีไดฟ์ ดำน้ำลงไปอากาศมีจำกัด ทุกลมหายใจมีค่า เวลาเลือกควรเลือกหน้ากากที่เราใส่แล้วรู้สึกสบาย ใส่แล้วทดลองบีบจมูก เคลียร์หู ดูว่าเราชอบหรือเปล่า ควรเลือกหน้ากากที่ยางนิ่มและเราสามารถเคลียร์หูได้สะดวก

Omer Umberto Pelizzari M1

Snorkel

เวลาที่เราอยู่ในน้ำ โดยธรรมชาติอากาศที่อยู่ในปอดจะทำให้เราลอยตัวอยู่บริเวณผิวน้ำ ปัญหาคือเราหายใจไม่สะดวกเวลาอยู่บนผิวน้ำ เพราะหน้าเราจะจมอยู่ใต้น้ำ หรือบางครั้งคลื่นแรง เราจึงต้องใช้ Snorkel เป็นตัวช่วยในการหายใจ เพราะทำให้เราสะดวกและมั่นใจมากยิ่งขึ้นเวลาลอยตัวอยู่ในทะเล

วิธีใช้ snorkel ให้เราคาบบริเวณ mouth piece แล้วหายใจตามปกติ เหมือเวลาหายใจผ่านจมูก ถ้าเวลาดำน้ำแล้วมีน้ำเข้าไปในท่อ snorkel ให้เราเป่าออกไปแรงๆ น้ำจะถูกไล่ออกไปจากท่อทำให้เราหายใจได้ตามปกติ เวลาดำลงไปใต้น้ำควรเอาท่ออกจากปาก เพราะถ้าหากเราหมดสติใต้น้ำปากเราจะปิดแน่นตามธรรมชาติ บัดดี้จะไม่สามารถดึงท่อออกจากปากเราได้ทำให้การช่วยเหลือทำได้ยาก

การเลือก จุดสำคัญคือบริเวณ Mouth piece ควรเลือกที่เป็นยางนิ่มๆ ช่วยให้รู้สึกสบายเวลาใช้งาน และเลือกท่อที่เป็นยางสามารถลู่น้ำได้ดีและทำให้พับเก็บสะดวกเวลาเดินทาง

Snorkel

Freediving Fins

ทะเลเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ บางทีมีคลื่นสูง หลายครั้งเจอกระแสน้ำแรง แต่เมื่อเราใส่ฟิน ฟินจะช่วยให้เราว่ายน้ำได้ง่ายขึ้น ไวขึ้น และออกแรงน้อยลง ทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นและสามารถช่วยเหลือบัดดี้ของเราได้ง่ายถ้าหากมีอุบัตติเหตุเกิดขึ้น

Fins มีหลายแบบ แต่เนื่องจากเวลาเรา Freediving เราใช้วิธีกลั้นหายใจในการดำน้ำ เราจึงมักดำลงไปใต้น้ำอย่างรวดเร็ว ดังนั้น Fins ที่ดีจะช่วยให้เราออกแรงน้อยแต่ว่ายน้ำได้ไวมากกว่าไม่ใส่ฟิน วิธีเลือกฟิน อันดับแรกเราควรลองสวมดูว่า เราใส่ได้พอดีหรือไม่ ต้องไม่กัดเท้า ควรเลือก footpocket หลวมเล็กน้อย เผื่อสำหรับกรณี fins กัดเท้าจะทำให้เราสามารถใส่ถุงเท้าดำน้ำได้ พื้นของ footpocket ต้องแข็ง ถ้าหากพื้นของ footpocket นิ่มเกินไปจะทำให้ออกแรงเตะฟินได้ไม่เต็มที่

ใบฟินทำมาจากวัสดุหลักๆ 3 อย่าง คือ พลาสติก เส้นใยแก้ว(Glass fiber) และเส้นใยคาร์บอน(Carbon fiber) ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการเลือกใช้งาน

ฟินพลาสติก (Plastic fins)

ข้อดี คือ ดูแลรักษาง่าย ทนต่อการแตกหักเสียหาย ราคาถูก ทำให้สะดวกในการเดินทาง เอาขึ้นรถทัวร์หรือโหลดใต้เครื่องบินไม่ต้องกังวลมาก ข้อเสียของฟินชนิดนี้คือ ใบฟินมีความแข็งระดับเดียวคือหนัก และแรงดีดของใบฟินทีทำจากพลาสติกน้อยเมื่อเทียบกับฟินที่ทำจาก glass fiber หรือ Carbon fiber ทำให้ต้องออกแรงขามากเวลาว่ายน้ำ

ฟินเส้นใยแก้ว (Glass fiber fins)

ข้อดีของฟินประเภทนี้คือ ใช้แรงในการว่ายน้ำ น้อยกว่า ฟินแบบพลาสติก สามารถเลือกความแข็ง อ่อนของฟินได้หลายระดับตามกำลังขาของเราช่วยให้ไม่เป็นตะคริวเวลาว่ายน้ำ และว่ายได้ไว ใบฟินสวยงามหลายคนชอบเพราะถ่ายรูปขณะอยู่ใต้น้ำแล้วสวย ข้อเสีย คือราคาแพงกว่าฟินแบบพลาสติก ต้องระวังอย่าให้อะไรมากระแทกเพราะใบฟินแตกได้ง่าย

ฟินคาร์บอน (Carbon fiber fins)

คาร์บอนเป็นวัสดุที่มีความแข็งมาก ดังนั้นข้อดีของฟินที่ทำมาจากฟินชนิดนี้ จะมีแรงดีดของฟินมากกว่าฟินที่ทำมาจากวัสดุประเภทอื่นๆ และสามารถเลือกความแข็งอ่อนของใบฟินได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ข้อเสียคือ ราคาแพงมาก ฟินเปราะง่ายต่อการแตกหัก ต้องระวังรักษาดีๆ

เรียน freediving และฝึกใช้อุปกรณ์ จะช่วยให้เราสามารถลอยตัว และว่ายน้ำได้ง่าย ควรทดลองฝึกใช้งานในสระน้ำก่อนออกไปเที่ยวทะเล เพราะสระน้ำมีความปลอดภัยและสะดวกต่อการฝึกฝนมากกว่า ทำให้มีความชำนาญและใช้อุปกรณ์ต่างๆได้คล่อง

ร้านอุปกรณ์ Freediving

admin

Recent Posts

Lung stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด

     หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบ freediving นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี    …

5 years ago

เทคนิคพื้นฐานการฝึก freediving

freediving เป็นกีฬาที่ เรียน เเละฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละ กลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มี หัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง…

6 years ago

Wetsuit freediving เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร

ทำไมเราใช้ wetsuit freediving ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป้นไข้ และเป็น…

6 years ago

Spleen effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

ม้าม ( Spleen effect )เป็น อวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหาย ออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เมื่อเม็ดเลือดแดง เข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต…

6 years ago

9 ขั้นตอน Free diving ฝึก Frenzel equalization

วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freediving เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Free diving physiology ส่วนต่างๆ…

6 years ago

2 วิธีฝึก freediving กลั้นหายใจ ได้นานและสบายกว่าเดิม

หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึก freediving ใหม่ๆคือ อาการ Contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ กลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ Contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น…

6 years ago