เรียน freediving

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการ กลั้นหายใจ มากที่สุด

เมื่อเราดำน้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาหลักๆคือเราไม่สามารถหายใจใต้น้ำโดยไม่อาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งแตกต่างกับแมวน้ำที่สามารถ กลั้นหายใจ ดำน้ำได้นานถึงสองชั่วโมงและไม่ต้องใช้ถังออกซิเจน

ทำไมแมวน้ำถึง กลั้นหายใจ ได้นาน

เพราะ ร่างกายของแมวน้ำมีความสามารถในการกักเก็บและใช้ออกซิเจนน้อยมากเวลาดำน้ำ โดยมีกลไกส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง เส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆที่ไม่สำคัญจะหดตัว (peripheral constriction)และหัวใจจะเต้นช้าลง (bradycardia)

เปรียบเทียบกับแมวน้ำแล้ว มนุษย์มีความสามารถในการดำน้ำน้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งคนส่วนมากสามารถ กลั้นหายใจ แบบสบายๆได้น้อยกว่า 1 นาที แต่ร่างกายของมนุษย์ก็มีระบบที่ใช้ในการดำน้ำเหมือนกับ แมวน้ำ และ โลมา ดังนั้นหากเรารู้ว่า กลไกอะไรที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการกักเก็บออกซิเจน ก็จะทำให้เราฝึกฝนและสามารถดำ freediving ได้นานมากยิ่งขึ้น

การทดลองปัจจัยในการกลั้นหายใจแต่ละแบบ

การทดลองจะมุ่งเน้นไปที่วัดการลดลงของอัตราการเต้นของหัวใจ (Bradycardia) เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่าย เพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ mammalian dive reflex มากกว่ากัน โดยวัดผลระหว่างกลั้นหายใจเป็นเวลา 30 วินาที

สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ
สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจในน้ำ
เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ
3 หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำ
ใบหน้าสัมผัสน้ำ 4 หายใจผ่านท่อ snorkel โดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ
5 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น
6 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำธรรมดา
อุณหภูมิ 7 ใช้เจลประคบร้อนบริเวณใบหน้า กับ ใช้เจลประคบเย็นบริเวณใบหน้า
8 กลั้นหายใจในน้ำอุ่น กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น

ผลการทดลอง กลั้นหายใจ แบบต่างๆ 30 วินาที

สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ
วินาทีที่15 – 30 (ครั้ง / นาที)
สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 การหายใจแบบธรรมดา กับ 76
การกลั้นหายใจในน้ำ 56.1
เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2 การหายใจแบบธรรมดา กับ 70.1
การกลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ 65.2
3 การหายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ กับ 65.3
กลั้นหายใจในน้ำ 54.9
ใบหน้าสัมผัสน้ำ 4 หายใจผ่านท่อ snorkel โดยหน้าไม่เปียกน้ำ 71.2
หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ 66.9
5 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ 69.6
กลั้นหายใจในน้ำเย็น 61.5
6 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ 70.5
กลั้นหายใจในน้ำธรรมดา 60.6
อุณหภูมิ 7 ใช้เจลประคบร้อนบริเวณใบหน้า กับ 69.7
ใช้เจลประคบเย็นบริเวณใบหน้า 67
8 กลั้นหายใจในน้ำอุ่น กับ 65.5
กลั้นหายใจในน้ำเย็น 58.5

สรุปสิ่งที่มีผลต่อ Mammalian dive reflex

เมื่อกลั้นหายใจในน้ำ อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลงมากกว่า การหายใจตามปกติ แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ก็มีกลไกการปรับตัวเมื่อดำน้ำเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมวน้ำ โลมา ผลการทดลองที่ 2 , 3แสดงให้เห็นว่า เพียงกลั้นหายใจอย่างเดียวถึงหน้าจะไม่สัมผัสน้ำเลยก็ทำให้ อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเช่นกัน

ในการทดลองที่ 4 เมื่อใบหน้าสัมผัสน้ำ ชีพจรจะเต้นช้าลงเมื่อเปรียบเทียบกับการหายใจผ่านท่อ snorkel ธรรมดา การทดลองที่ 5 จะเพิ่มการกลั้นหายใจรวมถึงให้หน้าสัมผัสน้ำด้วย ซึ่งทำให้ชีพจรเต้นช้าลงกว่าเดิมมาก ในการทดลองที่ 6 เป็นการทดลองกลั้นหายใจในน้ำที่อุณหภูมิปกติ แต่เนื่องจากการถ่ายเทความร้อน ของน้ำมีมากกว่าอากาศ ทำให้ใบหน้ายังสามารถสัมผัสได้ถึงความเย็น ผลการทดลองที่ได้จึงเหมือนๆกับการทดลองที่ 5

การทดลองที่ 7 และ 8 ทดลองการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ใบหน้า การใช้ถุงประคบร้อนและเย็นบริเวณใบหน้าให้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่การกลั้นหายใจในน้ำเย็นจะทำให้ชีพจรเต้นช้ากว่าการกลั้นหายใจในน้ำอุ่น

ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อความสามารถในการ กลั้นหายใจ

นอกจากปัจจัย อุณหภูมิ ใบหน้าที่สัมผัสน้ำ การกลั้นหายใจ แล้วยังอาจมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องของเพศ เนื่องจากผู้ชายและผู้หญิงมีอัตราการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกัน

ปัจจัยในเรื่องของการฝึกฝน ผู้ที่ฝึก freediving เป็นประจำ ร่างกายจะถูกกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมในการดำน้ำได้มากกว่าคนทั่วไป และนอกเหนือจากนี้ ยังอาจมีปัจจัยอื่นๆอีก ที่รอการค้นพบ เพราะปัจจุบันยังมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ

 

อ้างอิงมาจาก : SIMULATED HUMAN DIVING AND HEART RATE:MAKING THE MOST OF THE DIVING RESPONSE AS A LABORATORY EXERCISE

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.physiology.org/doi/pdf/10.1152/advan.00045.2002

admin

Recent Posts

Lung stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด

     หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบ freediving นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี    …

5 years ago

เทคนิคพื้นฐานการฝึก freediving

freediving เป็นกีฬาที่ เรียน เเละฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละ กลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มี หัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง…

6 years ago

Wetsuit freediving เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร

ทำไมเราใช้ wetsuit freediving ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป้นไข้ และเป็น…

6 years ago

Spleen effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

ม้าม ( Spleen effect )เป็น อวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหาย ออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เมื่อเม็ดเลือดแดง เข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต…

6 years ago

9 ขั้นตอน Free diving ฝึก Frenzel equalization

วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freediving เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Free diving physiology ส่วนต่างๆ…

6 years ago

2 วิธีฝึก freediving กลั้นหายใจ ได้นานและสบายกว่าเดิม

หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึก freediving ใหม่ๆคือ อาการ Contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ กลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ Contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น…

6 years ago