Freediving – Soul - If freediving is in your Soul.
  • Home
  • SHOP
  • Freediving Course
    • SSI Basic Freediving
    • SSI Pool Freediving
    • SSI Freediving Level 1
    • SSI freediving level 2
  • วิธีสมัครเรียน
  • Blog(ความรู้)
  • About me
Home
SHOP
Freediving Course
    SSI Basic Freediving
    SSI Pool Freediving
    SSI Freediving Level 1
    SSI freediving level 2
วิธีสมัครเรียน
Blog(ความรู้)
About me
  • Home
  • SHOP
  • Freediving Course
    • SSI Basic Freediving
    • SSI Pool Freediving
    • SSI Freediving Level 1
    • SSI freediving level 2
  • วิธีสมัครเรียน
  • Blog(ความรู้)
  • About me
Freediving – Soul - If freediving is in your Soul.
เรียน freediving

เทคนิคพื้นฐานการฝึก freediving

freediving เป็นกีฬาที่ เรียน เเละฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละ กลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มี หัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง ตามรูปแบบของการเเข่งขัน

1. freediving กลั้นหายใจนาน (Static Apnea)

– Relaxation and breathing technic

ส่วนเเรก ที่ผู้ เรียน freediving จะได้ฝึกฝน เพราะ เป็นหัวใจของ ฟรีไดฟ์ คือ ไม่เครียด การฝึกนี้เป็นรากฐานของ freediving เเบบอื่นๆทั้งหมด ได้เเก่

1.หายใจโดยใช้กระบังลม /ท้องน้อย (diaphragm/belly breathing) เวลาหายใจเข้า หน้าท้องจะป่องออก เเละเวลาหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง หายใจเข้าออกเเบบสบายๆ เหมือนเวลาปกติ (Tidal volume) ไม่หายใจมากหรือถี่เกินไปเพราะ จะทำให้เกิด Hyperventilation

***ถ้าฝึกใหม่ๆ ให้หายใจเข้า 1 ส่วน หายใจออก 2ส่วน โดยนับเลขเเทน  เช่น  หายใจเข้า 3 วินาที หายใจออก 6 วินาที เพื่อป้องกัน hyperventilation

2. การกลั้นหายใจ  (Hold breathing) การกลั้นหายใจ ประกอบไปด้วย 3 ช่วงคือ

2.1 ผ่อนคลาย (Relax) : ช่วงเเรกร่างกายยังไม่มีผลกระทบ จากการกลั้นหายใจ มีเเค่ความคิดที่คอยรบกวนเเละทำให้จิตใจไม่สงบ

2.2 อุปสรรค (Struggle) : ช่วงนี้จะเริ่มตั้งเเต่ เกิดการหดตัวของกระบังลม เป็นต้นไป ทำให้เกิดความยากลำบากในการกลั้นหายใจ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซในเลือดเพิ่มขึ้น

2.3 อันตราย : ร่างกายจะเริ่มเกิดความรู้สึกทรมาน ริมฝีปากจะเริ่มเป็นสีม่วง เนื่องจากออกซิเจนในกระเเสเลือด ลดลงมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด LMC หรือ Blackout   

Continue reading
เรียน freediving

Wetsuit freediving เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร

SSI freediver level2

ทำไมเราใช้ wetsuit freediving ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป้นไข้ และเป็น อุปกรณ์ freediving ทำให้สามารถฝึกฝนได้อย่างสบายมากขึ้น

ข้อเเตกต่างระหว่าง Wetsuit freediving กับ Scuba

หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมคนฝึก freedive ไม่นิยมใช้ Wetsuit scuba เหตุผลก็เนื่องมาจาก ชุดของ Scuba จะออกแบบมาให้น้ำสามารถซึมเข้าไปขังอยู่ในชุดได้ กลายเป็นชั้นแบ่งระหว่างร่างกาย กับชุด เมื่อคนดำ scuba เคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ร่างกายจะสร้างความร้อนขึ้นมา และเก็บความร้อนไว้ในชุดได้

Continue reading
เรียน freediving

14 ข้อควรระวังที่คน เรียน freediving ต้องรู้

เรียน freediving

การ เรียน “freediving“ จะทำให้เราเป็นอิสระมากกว่าที่เคย เมื่ออยู่ในทะเล ได้รู้สึกสนุกกับการไปเที่ยวทะเลลามารถดำลงไปชมความสวยงามใต้ท้องทะเลด้วยตัวเอง แต่ก็มีข้อควรระวัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ

1.ห้ามหายใจแบบ hyperventilation

Hyperventilation เป็นการหายใจที่มากเกินกว่าการหายใจแบบปกติตามธรรมชาติ ทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงต่ำเกินไป ซึ่งทำให้เวลาเราดำฟรีไดฟ์ไม่รู้ตัวว่าออกซิเจนกำลังจะหมดแล้ว ทำให้เกิดการหมดสติใต้น้ำ นอกจากการหายใจแบบ Hyperventilation จะไม่ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ยังไปขัดขวาง mammalian dive reflex ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าจะเป็นประโยชน์

แค่หายใจมากกว่าปกติเพียง 6 – 7 ครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการ hyperventilation ได้ ถ้าสังเกตให้ดีจะรู้ได้ถึงความผิดปกติ เช่น มือชา เท้าชา รู้สึกมึนๆนิดๆ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรงดดำน้ำสัก 3 – 4 นาทีเพื่อรอให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ ก่อนดำน้ำใหม่อีกครั้ง

Continue reading

เรียน freediving

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการ กลั้นหายใจ มากที่สุด

seal ability to freediving

เมื่อเราดำน้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาหลักๆคือเราไม่สามารถหายใจใต้น้ำโดยไม่อาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งแตกต่างกับแมวน้ำที่สามารถ กลั้นหายใจ ดำน้ำได้นานถึงสองชั่วโมงและไม่ต้องใช้ถังออกซิเจน

ทำไมแมวน้ำถึง กลั้นหายใจ ได้นาน

เพราะ ร่างกายของแมวน้ำมีความสามารถในการกักเก็บและใช้ออกซิเจนน้อยมากเวลาดำน้ำ โดยมีกลไกส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง เส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆที่ไม่สำคัญจะหดตัว (peripheral constriction)และหัวใจจะเต้นช้าลง (bradycardia)

เปรียบเทียบกับแมวน้ำแล้ว มนุษย์มีความสามารถในการดำน้ำน้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งคนส่วนมากสามารถ กลั้นหายใจ แบบสบายๆได้น้อยกว่า 1 นาที แต่ร่างกายของมนุษย์ก็มีระบบที่ใช้ในการดำน้ำเหมือนกับ แมวน้ำ และ โลมา ดังนั้นหากเรารู้ว่า กลไกอะไรที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการกักเก็บออกซิเจน ก็จะทำให้เราฝึกฝนและสามารถดำ freediving ได้นานมากยิ่งขึ้น

การทดลองปัจจัยในการกลั้นหายใจแต่ละแบบ

การทดลองจะมุ่งเน้นไปที่วัดการลดลงของอัตราการเต้นของหัวใจ (Bradycardia) เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่าย เพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ mammalian dive reflex มากกว่ากัน โดยวัดผลระหว่างกลั้นหายใจเป็นเวลา 30 วินาที

Continue reading

เรียน Freediving

  • SHOP
  • วิธีสมัครเรียน
  • SSI Basic Freediving
  • SSI Pool Freediving
  • SSI Freediving Level 1
  • SSI freediving level 2

กด Like เพื่อติดตามสาระใหม่ๆได้ที่นี่

Recent Posts

  • Lung stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด
  • เทคนิคพื้นฐานการฝึก freediving
  • Wetsuit freediving เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร
  • Spleen effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน
  • 9 ขั้นตอน Free diving ฝึก Frenzel equalization

“Freediving isn't just a number. It's about your journey.”

Relax your mind , Enjoy and chill out